ไก่เหลืองหางขาว มีความพิเศษ และน่าสนใจอย่างไร

ไก่เหลืองหางขาว มีความพิเศษ และน่าสนใจอย่างไร น่าจะเคยได้ยินคุ้นหู หรือผ่านสายตา กับ สัตว์เลี้ยงคู่กายอีกหนึ่งชนิดของพระองค์ นั้นก็คือ ไก่ชน ไก่เหลืองหางขาว

ไก่เหลืองหางขาว มีถิ่นกำเนิดที่ .พิษณุโลก ถูกยกให้เป็นของดีของจังหวัด และเป็นสมบัติของชาติไทย ที่หากใครได้ยินชื่อ ไก่สายพันธุ์นี้การันตีได้เลยว่าเป็นไก่สายพันธุ์ดี จนได้รับความนิยมนำไปหาเลี้ยงทั่วประเทศ ไก่เหลืองหางขาว ตามประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดาร  เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชาเป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญานามว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง”  

ไก่เหลืองหางขาว มีความพิเศษ และน่าสนใจอย่างไร 

สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ และมีกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวร ขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติไทย

ข้อมูล ระบุไว้อีกว่าไก่เหลืองหางขาว ยังเป็นไก่พื้นเมืองไทยที่มีมาแต่โบราณ มีถิ่นกำเนิดแถบภาคเหนือของไทย บริเวณบ้านหัวแท ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก นับได้ว่าจังหวัดพิษณุโลกเป็นแหล่งกำเนิดไก่พันธุ์เหลืองหางขาวพันธุ์ดีสายเลือดแท้ จนเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไปในปัจจุบัน โดยในกลุ่มคนเล่นไก่ยกให้ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่มีสกุลและชั้นเชิงด้านฝีมือ มั่นใจได้ว่าไปแข่งกับใครจะต้องเป็นฝ่ายชนะอย่างแน่นอน กรมปศุสัตว์ยังได้ให้ข้อมูลถึงวิธีดูไก่ชนเป็นไก่เหลืองหางขาว ที่มีลักษณะพิเศษตามความเชื่อของคนโบราณ

โดยได้แยกลักษณะของไก่เหลืองหางขาว

เพศผู้ที่จะเป็นพ่อพันธุ์ ไว้ด้วยว่า

1.ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์  คือ มีหย่อมกระ (มีสีขาวแซม) 5 แห่ง  ที่หัว(บริเวณท้ายเสนียดหัวปีกทั้งสองข้างและข้อขาทั้งสองข้าง โบราณถือว่ามีเทพรักษาถึง 5 พระองค์ จึงถือเป็นไก่สกุลสูง หรือ “พระยาไก่

2.สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก มีสีเหลืองทองอร่าม  เรียกว่า “เหลืองประภัสสร

3.มีสร้อยใต้ปีก(ข้างลำตัวเรียก “สร้อยสังวาลย์” สีเดียวกับสร้อยคอและสร้อยหลัง

4.มีขนใต้โคนหางขลิบเหลือง เหนือทวารหนัก ประสานกันแหลมขึ้นไปที่โคนหางคล้ายดอกบัว เรียก   “บัวคว่ำ – บัวหงาย

5.ก้านขนสร้อยและหางกะลวย  มีสีขาวปลอด

6.ขนหู มีสามสี ได้แก่ สีเหลือง สีขาว และสีดำ

7.ฝาปิดจมูก มีสีขาว

8.เกล็ดสำคัญ  ซึ่งเป็นเกล็ดพิฆาต  เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู เป็นต้น

ส่วนไก่เหลืองหางขาว เพศเมียหรือแม่พันธุ์ มีลักษณะทั่วไปตามสายพันธุ์เหลืองหางขาวใกล้เคียงกับเพศผู้ หรือ พ่อพันธุ์ คือ

ขนพื้นตัวมีสีดำตลอด มีจุดหย่อมกระขาว 5 จุด –ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์ ที่หัว หัวปีกทั้งสอง ข้อขาทั้งสอง ปาก ตาแข้ง และ เล็บสีขาวอมเหลืองแบบงาช้าง ปากมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ปีกในดำ ปีกนอกและปีกไชแซมขาว บางตัวจะปรากฏสร้อยคอสีเหลืองสดใส หรือมีเดือยเช่นเพศผู้

ด้วยความพิเศษ และคุณค่าของไก่เหลืองหางขาว ที่ผูกพันธ์กับคนไทย และชาวพิษณุโลกมาอย่างยาวนาน จึงเกิดแนวทางการอนุรักษ์ไก่เหลืองหางขาวให้คงพันธุ์แท้ไว้ โดยสำนักปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก จัดตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ เมื่อปี 2542 โดยต้องมีมาตรฐานตามนี้

1.สายพันธุ์เหลืองหางขาว เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป สูงตั้งแต่ 60 เซ็นติเมตร วัดจากใต้ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน

2.ส่วนเพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซ็นติเมตรขึ้นไป อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก 198 วัน ผลผลิตไข่/ปี 136 ฟอง

ทั้งนี้หากใครอยากจะลองหาไก่เหลืองหางขาวมาเลี้ยงสักตัว เรามีข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญแนะวิธีเลือกดูไก่เหลืองหางขาวพันธุ์แท้ ต้องมีลักษณะเด่นดังนี้

1.อกชัน ยืนยืดอกหรือเชิดอก ด้านท้ายของตัวลาดลงต่ำ แสดงถึงความเป็นไก่นักสู้

2.หวั้นชิด ช่วงหางอยู่ชิด หรือติดกับบั้นท้ายตรงบริเวณเชิงกราน ช่องว่างระหว่างบั้นท้ายกับเชิงกรานแคบ แสดงถึงความอึดและอดทน

3.หงอนบิด หงอนไม่ตรง บิดเอียงไปด้านข้างเล็กน้อย แต่ไม่พับเอียงมากเกินไป

4.ปากร่อง บริเวณจะงอยปากต้องเป็นร่องลึกทั้งสองข้างออกจากรูจมูก แสดงถึงความเข้มแข็ง ไม่หลุดหักง่าย

5.พัดเจ็ด พบบริเวณขน เรียกว่า ขนพัด มีข้างละ 7 เส้น

6.ปีกสิบเอ็ด ขนปีกท่อนนอกมีข้างละ 11 เส้น ช่วยในการบินได้ดี

7.เกล็ดยี่สิบสอง เกล็ดที่นิ้วกลางนับรวมกันได้ 22 เกล็ด จัดเป็นไก่มีสกุล ตีเจ็บ ตีหนักและรุนแรงมาก

8.สี สร้อยเหลือง ทั้งสร้อยคอ สร้อยปีก และสร้อยหลัง ลักษณะสร้อยประบ่า ระย้าประก้น หางยาวเหมือนฟ่อนข้าวกะลวย หางสีขาวยาวโค้งไปด้านหลัง ปลายห้อยตกลงมาสวยงาม หน้าแหลมยาว สร้อยหน้านกยูง