เรื่องหน้ารู้เกี่ยวกับ ไก่งวง ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่หลายคนคุ้นเคยมากนัก แต่นี่เป็นสัตว์เศรษฐกิจทางเลือกที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร เพราะผลผลิตที่ได้จากไก่งวงนั้นมีตลาดรองรับเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงมาก หากเทียบสัดส่วนการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันจะพบว่า อัตราการผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ แม้ในบ้านเราจะมีพ่อแม่พันธุ์ต้นสายจำกัดแค่ 2 สายพันธุ์ สามารถเลือกพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่เพาะเลี้ยงและช่องทางจำหน่ายที่สนใจได้เลย
ไก่งวง ที่นอกเหนือไปจากการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ใช่แล้ว ยังต้องทำความเข้าใจกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบก่อนเริ่มต้นเพาะเลี้ยงด้วย ไก่งวง เป็นสัตว์ปีกที่มีต้นกำเนิดมาจากฝั่งอเมริกาเหนือ แต่ไข่ไม่ใช่ผลิตผลที่สำคัญนัก กลับเป็น เนื้อไก่งวง ที่ได้รับความสนใจมากกว่า โดยหวังให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางหารายได้ของเกษตรกร ซึ่งในพื้นที่จังหวัดเลยเคยจัดเทศกาลกินไก่งวงเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงของเกษตรกรด้วย
พันธุ์ของไก่งวง หากเป็นสายพันธุ์ไก่งวงในอเมริกาเหนือที่ถือเป็นแหล่งกำเนิดก็จะมีความหลากหลายค่อนข้างมาก ส่วนในบ้านเรามีการนำเข้าเพียงแค่ 2 สายพันธุ์เท่านั้น
1.ไก่งวงพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์
เป็นไก่ที่มีขนาดลำตัวตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ขนและหนังเป็นสีขาวล้วน ให้ปริมาณไข่โดยเฉลี่ย 80 ฟองต่อปี นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการได้แนะนำถึงวิธีสังเกตเพศไก่งวงสายพันธุ์นี้ว่า ผู้จะมีกลุ่มขนที่คล้ายเส้นผมสีดำที่กลางอก ตัวเมียอาจพบได้บ้างแต่ก็น้อยมาก ซึ่งมีบทบาทในการผลิตลูกไก่ไปจนถึงไก่ที่มีอายุ 6 เดือน
2.ไก่งวงพันธุ์อเมริกันบรอนซ์
สายพันธุ์นี้จะมีน้ำหนักมากกว่าสายพันธุ์แรก เส้นขนเป็นสีบรอนซ์ผสมกับน้ำตาลดำ โดยเฉพาะส่วนหางที่รำแพนจะมองเห็นขนสีขาวเรียงเป็นแถบชัดเจน และให้ไข่ประมาณ 70 ฟองต่อปี ส่วนความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมียก็จะสังเกตได้จากขนสีดำตรงอกเหมือนกับสสายพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์
3.ไก่งวงลูกผสม
เป็นการผสมข้ามสายพันธุ์จนได้ลูกไก่รุ่นใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากรุ่นพ่อแม่ชัดเจน ทั้งสีขน ขนาดลำตัว และอัตราการเติบโต ตัวอย่างของแหล่งเพาะพันธุ์ลูกผสมที่น่าสนใจก็คือ ฟาร์มไก่งวงเบญจพรศิริ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู ที่นี่เริ่มต้นจากพ่อแม่พันธุ์พื้นฐานแล้วต่อยอดจนได้ลูกผสมมากกว่า 10 สายพันธุ์แล้วในปัจจุบัน
การจัดการสถานที่ในการเลี้ยงไก่งวง
รูปแบบของการเพาะเลี้ยงไก่งวงก็คล้ายคลึงกับไก่เนื้อทั่วไป คือสามารถเลี้ยงไว้ภายในโรงเรือนหรือเลี้ยงแบบปล่อยอิสระบนพื้นที่โล่งกว้างก็ได้ โดยทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการที่เหมาะสมกับสถานที่แต่ละแบบเอาไว้ดังนี้
- การจัดการไก่งวงในโรงเรือน อันดับแรกเป็นเรื่องความกว้างขวางของโรงเรือน ขนาดที่แนะนำจะอยู่ประมาณ 1 ตารางเมตรต่อไก่งวง 1 ตัว พื้นโรงเรือนควรรองด้วยวัสดุรองพื้นที่แห้งและสะอาด
- การจัดการไก่งวงในทุ่งหญ้า สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือต้องแน่ใจก่อนว่าพื้นที่นั้นสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและพยาธิที่อาจทำให้ไก่เจ็บป่วย มีรางน้ำและรางอาหารวางกระจายไว้ตามจุดต่างๆ โดยให้มีปริมาณสอดคล้องกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง
- อาหารสำหรับเลี้ยงไก่งวง
- ช่วงอายุ 0-1 เดือน ให้อาหารที่มีส่วนผสมของหัวอาหาร 22 เปอร์เซ็นต์
- ช่วงอายุ 2-5 เดือน ให้อาหารที่มีส่วนผสมของหัวอาหาร 14 เปอร์เซ็นต์
- ช่วงอายุ 5 เดือนขึ้นไป ให้เปลี่ยนอาหารเป็นรำอ่อนผสมรำหยาบ หรือจะใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วในพื้นที่มาผสมกันก็ได้
การให้ผลผลิตไข่ไก่งวง
ไก่งวงจะเริ่มวางไข่ได้ตั้งแต่เดือนที่ 8 เป็นต้นไป หากเร่งให้มีการวางไข่เร็วกว่ากำหนดจะทำให้ได้ไข่ฟองเล็กกว่าปกติ ราสามารถวัดคุณภาพของไข่ได้จากลักษณะภายนอกเป็นอันดับแรก สีเปลือกเป็นสีจางที่มีจะน้ำตาลดำหรือน้ำตาลเหลือง น้ำหนักไข่ควรอยู่ที่ประมาณ 80-85 กรัมขึ้นไป และต้องมีการดูแลให้แม่ไก่วางไข่ครั้งแรกในรัง ห้ามวางที่พื้นโรงเรือนเด็ดขาด ควบคุมดูแลไม่ให้ไก่งวงกกไข่หลังผ่านไปแล้ว 3 สัปดาห์ ข้อควรระวังเกี่ยวกับการย้ายคอกมีแค่อย่าทำบ่อยจนเกินไป มากที่สุดคือสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น
ติดตามข่าวอื่น :: ข่าวไก่ชนวันนี้
เพิ่มเติม :: เว็บข่าวไก่ชนวันนี้ วันนี้